มาตราธรณีกาล
มาตราทางธรณีกาล (Geological time scale) นักธรณีวิทยาแบ่งเวลานับตั้งแต่โลกเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบันออกเป็นคาบเวลาจากใหญ่ไปเล็กได้แก่
1.บรมยุค (Eon) 2.มหายุค (Era) 3.ยุค (Period) 4.สมัย (Epoch) โดย
ทั้งหมดมี 3 บรมยุค (Eon) ได้แก่
•อาร์คีโอโซอิค (Archaeozoic) เป็นบรมยุคแรกของโลก
•โพรเทอโรโซอิค (Proterozoic) เป็นภาษากรีก แปลว่า สิ่งมีชิวิตเพิ่งอุบัติขึ้น
นับตั้งแต่ช่วงเวลาที่โลกก่อกำเนิดขึ้นมาเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อนจนถึง 2,500 พันล้านปีก่อน พื้นผิวโลกในช่วงนั้นร้อนละอุไปด้วยภูเขาไฟและธารลาวา อุกกาบาตซึ่งมีแหล่งกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อยและดาวหางพุ่งชนโลก บรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งพ่นออกมาจากปล่องภูเขาไฟทำให้พื้นผิวโลกมีสภาพเป็นภาวะเรือนกระจก สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นเป็นเซลล์โพรคาริโอต ไม่มีนิวเคลียส อาศัยธาตุอาหารจากสารเคมีที่ปล่อยมาจากปล่อยภูเขาไฟและน้ำพุร้อนใต้มหาสมุทร วิวัฒนาการของโลกในบรมยุคอาร์คีโอโซอิคมีดังนี้
- 4,600 ล้านปีก่อน ฝุ่นแก๊สและอนุภาคต่างๆ ในโซลาร์เนบิวลา (Solar nebula) รวมตัวกันเป็นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหลาย พื้นผิวของโลกในยุคแรกร้อนมากมีสถานะเป็นของเหลว บรรยากาศหนาแน่นไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไอน้ำที่ปล่อยออกจากปล่องภูเขาไฟ
- 4,200 ล้านปีก่อน เปลือกโลกเย็นตัวลงและเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ไอน้ำในบรรยากาศควบแน่นเป็นฝนและละลายแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงสู่พื้นผิว
- 4,000 ล้านปีก่อน กำเนิดโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต (RNA)
- 3,800 ล้านปีก่อน หินตะกอนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่เกาะกรีนแลนด์
- 3,500 ล้านปีก่อน กำเนิดเซลล์โพรคารีโอต (Prokaryotic cell) ไม่มีนิวเคลียส
- 3,400 ล้านปีก่อน น้ำฝนที่ตกขังบนแอ่งที่ราบไหลรวมตัวกันกลายเป็นทะเล สิ่งมีชีวิตเช่น แบคทีเรียสีเขียว (Cyanobacteria) และสโตรมาโทไลต์ (Stromatolites) สร้างคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ตรึงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมาสร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis) แล้วปล่อยแก๊สออกซิเจนขึ้นสู่บรรยากาศ
- 2,600 ล้านปี ปริมาณน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับปัจจุบัน
บรมยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic eon)
คือช่วงเวลาตั้งแต่ 2,500 - 545 ล้านปีก่อน โลกเย็นตัวลงจนมียุคน้ำแข็งเกิดขึ้นสลับกันไปทุกๆ หลายร้อยล้านปี เปลือกโลกมีการผุพังและสึกกร่อนจนเกิดตะกอน ทำให้ชายฝั่งทะเลตื้นเขิน สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรแพร่พันธุ์ทวีปริมาณเพิ่มขึ้นจนต้องวิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบก
- 2,500 ล้านปีก่อน เกิดเซลล์ยูคารีโอต (Eukaryotic cells) ซึ่งมีนิวเคลียสและโครงสร้างซับซ้อน
- 2,000 ล้านปีก่อน แก๊สออกซิเจนที่ปล่อยจากสิ่งมีชีวิตลอยตัวขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเล็ต แปรสภาพเป็นแก๊สโอโซน
- 1,800 ล้านปีก่อน เกิดการแบ่งเพศของสิ่งมีชีวิต
- 1,400 ล้านปีก่อน เกิดสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
- 1,000 ล้านปีก่อน ปริมาณแก๊สออกซิเจนเท่ากับร้อยละ 18 ของปัจจุบัน โอโซนในชั้นสโตสเฟียร์ห่อหุ้มโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตเริ่มอพยพขึ้นมาอยู่บนบกได้อย่างปลอดภัย
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon)
นับตั้งแต่ 545 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ทั้งในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน บรมยุคฟาเนอโรโซอิกแบ่งย่อยออกเป็น 3 มหายุค (Era) ดังนี้
- พาเลโอโซอิก (Palaeozoic era) คือช่วง 545 – 245 ล้านปีก่อน เป็นมหายุคเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตทั้งในมหาสมุทรและบนบก
- เมโสโซอิก (Mesozoic era) คือช่วง 245 – 65 ล้านปีก่อน เป็นมหายุคของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์
- เซโนโซอิก (Cenozoic era) คือช่วง 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นมหายุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
บรมยุคฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic eon)
นับตั้งแต่ 545 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ทั้งในมหาสมุทรและบนแผ่นดิน บรมยุคฟาเนอโรโซอิกแบ่งย่อยออกเป็น 3 มหายุค (Era) ดังนี้
- พาเลโอโซอิก (Palaeozoic era) คือช่วง 545 – 245 ล้านปีก่อน เป็นมหายุคเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิตทั้งในมหาสมุทรและบนบก
- เมโสโซอิก (Mesozoic era) คือช่วง 245 – 65 ล้านปีก่อน เป็นมหายุคของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์
- เซโนโซอิก (Cenozoic era) คือช่วง 65 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน เป็นมหายุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
แม้ว่านักธรณีวิทยาจะแบ่งเวลาในอดีตของโลกออกเป็น 3 บรมยุค แต่ในบรมยุคอาร์คีโอโซอิกและโพรเทอโรโซอิกมีแต่สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำขนาดเล็ก และไม่มีหลักฐานฟอสซิลปรากฏมากนัก เนื่องจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน (Plate Tectonics) ทำให้เกิดวัฏจักรการสร้างและทำลายแผ่นเปลือกโลก หินบนโลกส่วนใหญ่จึงมีอายุไม่เกิน 500 ล้านปี นักธรณีวิทยาจึงเรียกช่วงเวลาของสองบรมยุคนี้ว่า พรีแคมเบียน (Precambian period) ซึ่งหมายถึง ช่วงเวลาก่อนที่จะถึงยุคแคมเบียน (Cambian) และแบ่งช่วงเวลาของบรมยุคฟาเนอโรโซอิกออกเป็น 3 มหายุค ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 11 ยุค โดยพิจารณาจากประเภทของฟอสซิลซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังข้อมูลในตาราง
- พรีแคมเบียน (Precambrian)
- แคมเบรียน (Cambrian)
- ออร์โดวิเชียน (Ordovician)
- ไซลูเรียน (Silurian)
- ดีโวเนียน (Devonian)
- คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous)
- เพอร์เมียน (Permian)
ร้อยละ 96 ของสปีชีส์ นับเป็นการปิดมหายุคพาเลโอโซอิก
- ไทรแอสสิก (Triassic)
- จูแรสสิก (Jurassic)
- เครเทเชียส (Cretaceous)
- เทอเชียรี (Tertiary)
1.พาลีโอจีน (Paleogene) เป็นสมัยแรกของยุคเซโนโซอิก อยู่ในช่วง 65 – 24 ล้านปีก่อน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแพร่พันธุ์แทนที่ไดโนเสาร์ มีทั้งพวกกินพืชและกินเนื้อ บนบกเต็มไปด้วยป่าและทุ่งหญ้า ในทะเลมีปลาวาฬ
2.นีโอจีน (Neogene) อยู่ในช่วง 24 – 1.8 ล้านปีก่อน เป็นช่วงเวลาของสัตว์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ในปัจจุบัน รวมทั้งลิงยืนสองขาซึ่งเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ (Homo erectus)
- ควอเทอนารี (Quaternary)
- ไพลส์โตซีน (Pleistocene) อยู่ในช่วง 1.8 ล้านปี – 1 หมื่นปี เกิดยุคน้ำแข็ง ร้อยละ 30 ของซีกโลกเหนือปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ทำให้ไซบีเรียและอลาสกาเชื่อมต่อกัน มีเสือเขี้ยวโค้ง ช้างแมมมอท และหมีถ้ำ บรรพบุรุษของมนุษย์ได้อุบัติขึ้นในสายพันธุ์โฮโมเซเปียนส์ (Homo sapiens) เมื่อประมาณสองแสนปีที่แล้ว
- โฮโลซีน (Holocene) นับตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 1 หมื่นปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ และอุตสาหกรรม ป่าในยุโรปถูกทำลายหมดสิ้น ป่าฝนเขตร้อนกำลังจะหมดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น